ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม
(Behavioral
Theories)
นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้
จะมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า(Stimulus)
กับการตอบสนอง(Response)
กลุ่มพฤติกรรมนิยมจะให้ความสนใจกับพฤติกรรมมากที่สุด เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด
สามารถวัดและทดสอบได้
ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้
จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical
Conditioning Theory)
1.1 พาฟลอฟ (Pavlov)
ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้ คือ พาฟลอฟ ซึ่งเป็นนักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เขาได้ทำการศึกษาทดลองกับสุนัขให้ ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงใน ห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ
1. ก่อนการวางเงื่อนไข
(Before
Conditioning)
2. ระหว่างการวางเงื่อนไข
(During
Conditioning)
3. หลังการวางเงื่อนไข
(After
Conditioning)
อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือ การตอบสนอง ที่เป็นโดยอัตโนมัติเมื่อนำ สิ่งเร้าใหม่มาควบคุมกับสิ่งเร้าเดิม เรียกว่า พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ (Respondent Behavior) พฤติกรรมการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับมนุษย์และสัตว์ คำที่พาฟลอฟใช้อธิบายการทดลองของเขานั้น ประกอบด้วยคำสำคัญ ดังนี้
- สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) คือ
สิ่งเร้าที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง
- สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus หรือ US ) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้ตามธรรมชาติ
- สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus หรือ CS) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้หลังจากถูกวางเงื่อนไขแล้ว
- การตอบสนองที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข (Unconditioned
Response หรือ UCR) คือ
การตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
การเรียนรู้ที่ถูกวางเงื่อนไขแล้ว
กระบวนการสำคัญอันเกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟ มีอยู่ 3 ประการ อันเกิดจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข คือ
-
การแผ่ขยาย (Generalization) คือ
ความสามารถของอินทรีย์ที่จะตอบสนองในลักษณะ
เดิมต่อสิ่งเร้าที่มี
ความหมายคล้ายคลึงกันได้
-
การจำแนก (Discrimination) คือ
ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความ
แตกต่างของสิ่งเร้าได้
-
การลบพฤติกรรมชั่วคราว (Extinction) คือ
การที่พฤติกรรมตอบสนองลดน้อยลงอันเป็น
ผลเนื่องมาจากการ
ที่ไม่ได้รับสิ่งเร้า ที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข
การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข (Spontaneous
recovery) หลังจากเกิด การลบพฤติกรรม ชั่วคราวแล้ว
สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีก
เมื่อได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
1.2 วัตสัน (Watson)
วัตสันและผู้ช่วยชื่อเรย์เนอร์
ได้เขียนบทความชื่อว่า “Conditio ned Emotional Reactions” ซึ่งสรุปผลการทดลอง โดยเริ่มจากผู้ทดลองเคาะแผ่นเหล็กให้ดังขึ้น
ให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข(UCS) ซึ่งจะก่อให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข(UCR)
คือ ความกลัว วัตสันได้ใช้หนูขาวเป็นสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข (CS)
มาล่อหนูน้อยอัลเบิร์ต (Albert) อายุ 8-9 เดือน
ซึ่งชอบหนูขาวแต่ไม่แสดงความกลัว
แต่ขณะที่หนูน้อยยื่นมือไปจับเสียงแผ่นเหล็กก็จะดังขึ้น ซึ่งทำให้หนูน้อยกลัว
ทำคู่กันเช่นนี้เพียงเจ็ดครั้งในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์
ปรากฏว่าตอนหลังหนูน้อยเห็นแต่เพียงหนูขาวก็แสดงความกลัวทันที
ต่อมาวัตสันได้แก้ความกลัวหนูขาวของอัลเบิร์ต
โดยให้มารดาอุ้มพร้อมกับเอามือจับหนูขาวลูบตัวหนูขาวอยู่จนกระทั่งอัลเบิร์ต์หายกลัวหนูขาว
และยังสามารถเอามือจับหนูขาวได้ หลักการนี้เรียกว่า Counter Conditioning
2.
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant
Conditioning Theory)
2.1 ธอร์นไดค์ (Thorndike)
เป็นบิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา
และเป็นผู้ที่คิดทฤษฎี Connectionism ธอร์นไดค์ทำการทดลอง
โดยนำแมวที่หิวมากไปขังไว้ในกล่องที่สร้างขึ้น แล้วนำอาหารไปวางล่อไว้นอกกรง
แล้วเฝ้าสังเกตว่าแมวพยายามหาวิธีออกจากกรงอย่างไร ด้วยความบังเอิญเท้าของมันไปเหยียบถูกสลัก
ทำให้ประตูเปิดออก หลังจากนั้นขังแมวไว้ใหม่ หลายๆครั้งจนแมวเกิดการเรียนรู้ ใช้เวลาในการเปิดกรงได้ในทันที
ซึ่งธอร์นไดค์เรียกการเรียนรู้ของแมวว่าเป็นการเรียนรู้แบบ “ลองผิดลองถูก” (Trial
and Error) จากผลการทดลองดังกล่าว
ธอร์นไดค์สามารถสรุปเป็นกฎแห่งการเรียนรู้
ได้ดังนี้
2.1.1
กฎแห่งผล (Law of Effect)
ถ้าทำแล้วได้ผลลัพธ์ที่ดีก็จะทำสิ่งนั้นอีก
แต่ถ้าทำแล้วได้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีก็จะไม่ทำสิ่งนั้นอีก
2.1.2 กฎแห่งความพร้อม (Law
of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนมีความ
พร้อมทั้งร่างกาย
และจิตใจ
2.1.3.
กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) การกระทำบ่อยๆ
จะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร
2.1.4. กฎแห่งการใช้ (Law
of Use and Disuse) ถ้าได้มีการนำการเรียนรู้ไปใช้บ่อยๆ
การเรียนรู้นั้นจะมีความคงทนถาวร หากไม่มีการนำไปใช้อาจเกิดการลืมได้
2.2 สกินเนอร์ (Burrhus
Skinner)
เป็นศาสตรจารย์ทางจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัย Horvard
ชาวอเมริกา
สกินเนอร์เชื่อว่า การเชื่อมโยงจะเกิดระหว่างสิ่งเสริมแรงและการตอบสนอง (Response)
ไม่ใช่เกิดระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง
(Response) การทดลองกระทำโดยจับหนูที่กำลังหิวใส่ในSkinner
Box ซึ่งภายในมีคานซึ่งถ้าหนูกดลงไปแล้วจะมีเสียงดังแกรกพร้อมกับมีอาหารหล่นลงมา
และเมื่อใดก็ตามที่หนูไปกดคาน อาหารก็จะหล่นลงมาทุกครั้ง จากการทดลองของสกินเนอร์ พบว่า
หลังจากผ่านไประยะหนึ่งแล้วเมื่อหนูหิว หนูสามารถเดินไปกดคานได้เลยโดยไม่ต้องลองผิดลองถูกอีก
นั้นหมายถึงว่าหนูเกิดการเรียนรู้แล้วและในการทดลองนี้สิ่งที่สกินเนอร์ให้ความสำคัญมากว่าเป็นสิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้
คือ อาหารซึ่งเขาเรียกว่า การเสริมแรง (Reinforcer) ซึ่งมีบทบาทในการกระตุ้นให้หนูแสดงพฤติกรรมตอบสนองที่ต้องการ
คือ การกดคาน
การเสริมแรง (Reinforcement)
หมายถึง การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจ
เมื่อทำพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งแล้ว เพื่อให้ทำพฤติกรรมนั้นซ้ำๆ อีก เช่น
เมื่อนักเรียนตอบคำถามถูกต้อง ครูให้รางวัล (นักเรียนพอใจ) นักเรียนจะตอบคำถามอีกหากครูถามคำถามครั้งต่อๆ
ไป
การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจทำได้โดยให้ตัวเสริมแรง (Reinforcer)
เมื่อทำพฤติกรรมแล้ว
การเสริมแรงเป็นสภาวะการณ์ที่มีการให้ตัวเสริมแรงในการกระทำพฤติกรรม
โดยการเสริมแรงจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. การเสริมแรงบวก คือ การให้ตัวเสริมแรงบวกเมื่อทำพฤติกรรมที่กำหนด(ต้องการ)แล้ว
เช่น ทำงานเสร็จแล้วได้รับค่าจ้างทำงานเป็นพฤติกรรมที่กำหนดเงินค่าจ้างเป็นตัวเสริมแรงบวก
2. การเสริแรงลบ คือ
การให้ตัวเสริมแรงลบเมื่อทำพฤติกรรมที่กำหนด(ต้องการ)แล้ว เช่น เมื่ออยู่ในห้องที่อบอ้าวเราจะเปิดหน้าต่าง
เปิดหน้าต่างเป็นพฤติกรรมที่กำหนด หายอบอ้าวเป็นตัวเสริมแรงลบ
หรือนักเรียนที่ตอบคำถามครูถูกจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำรายงานมาส่ง เป็นต้น
สรุป คนแต่ละคนได้รับการเสริมแรงต่างกันแล้วท่านล่ะได้รับการเสริมแรงบ้างหรือไม่ถ้าได้ท่านได้รับการเสริมแรงทางบวกหรือทางลบ
ซึ่งทั้งสองอย่างก็มีทั้งข้อดีและข้อจำกัดต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคลแล้วแต่ละสถานการณ์
การเสริมแรงทำได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1.เสริมแรงต่อเนื่อง
คือเสริมแรงทุกครั้งที่ทำพฤติกรรมถูกต้อง เหมาะสมกับการเรียนรู้
พฤติกรรมใหม่
2.
เสริมแรงเป็นบางครั้ง เหมาะสำหรับการรักษาพฤติกรรมที่เรียนรู้แล้วไว้
โดยไม่จำเป็นต้อง
มีการเสริมทุกครั้ง
เจ้าของทฤษฎี นี้คือ สกินเนอร์ (Skinner)
กล่าวว่า ปฏิกริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว
สิ่งเร้านั้นๆ ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้
ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง
การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษานี้จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ
1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step
by Step)
2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction)
3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback)
4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)
แนวคิดของสกินเนอร์นั้น
นำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม (Program
Inattention) สกินเนอร์เป็นผู้คิดบทเรียนโปรแกรมเป็นคนแรก
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการเสริมแรง
การเสริมแรงทางบวกจะดีกว่าทางลบ
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความใกล้ชิดระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
การเสริมแรงมีหลายวิธี อาจใช้วัตถุสิ่งของ หรือถ้อยคำที่แสดงความรู้สึกก็ได้
ที่สามารถสร้างบรรยากาศกระตุ้นให้ความพึงพอใจให้เกิดความสำเร็จหรือเครื่องบอกผลการกระทำว่าถูกผิด
และอาจเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเสริมแรงต่อๆ ไป การเสริมแรงควรจะต้องให้สม่ำเสมอ
นอกจากนั้นหลักการเสริมแรงยังทำให้สามารถปรับพฤติกรรมได้ ควรจะให้การเสริมแรงทันที
ที่มีการตอบสนองได้อย่างถูกต้อง ซึ่งควรจะเกิดขึ้นภายใน ประมาณ 10 วินาที
ถ้าหากมีการตอบสนองที่ต้องการซ้ำหลายครั้งๆ ก็ควรเลือกให้มีการเสริมแรงเป็นบางคราว
แทนที่จะเสริมแรงทุกครั้งไป ควรจะจัดกิจกรรมการเรียนให้เป็นไปตามลำดับจากง่ายไปยาก
และเป็นตอนสั้นๆ ที่สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียน
การให้ข้อมูลป้อนกลับ (Giving
Feedback) เป็นแนวทางหนึ่งในการใช้การเสริมแรงในการจัดการเรียนการสอน
การให้ข้อมูลป้อนกลับ Giving Feedback หมายถึง
คำหรือประโยคที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
ในการจัดการเรียนการสอน
ครูผู้สอนควรให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้
ของนักเรียน
ครูผู้สอนสามารถนำการให้ข้อมูลป้อนกลับไปใช้ ในการตรวจสอบการทำงานของนักเรียน
หรือในขณะที่นักเรียนนำเสนองาน เป็นต้น ประโยชน์ของการให้ข้อมูลป้อนกลับ ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียนและช่วยให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
การลงโทษ (Punishment)
คือ การทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมลดลง
การลงโทษมี 2 ทาง ได้แก่
1. การลงโทษทางบวก (Positive
Punishment) เป็นการให้สิ่งเร้าที่บุคคลที่ไม่พึงพอใจ มี
ผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง
2. การลงโทษทางลบ (Negative
Punishment) เป็นการนำสิ่งเร้าที่บุคคลพึงพอใจ หรือสิ่ง
เสริมแรงออกไป
มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง
กำหนดการเสริมแรงตามเวลา (Iinterval
schedule)
1. กำหนดเวลาแน่นอน
(Fixed
Interval Schedules = FI)
2. กำหนดเวลาไม่แน่นอน
(Variable
Interval Schedules = VI )
กำหนดการเสริมแรงโดยใช้อัตรา (Ratio
schedule)
1. กำหนดอัตราแน่นอน
(Fixed
Ratio Schedules = FR)
2. กำหนดอัตราไม่แน่นอน
(Variable
Ratio Schedules = VR)
ตัวอย่างตารางการให้การเสริมแรง
ตารางการเสริมแรง
|
ลักษณะ
|
ตัวอย่าง
|
การเสริมแรงทุกครั้ง (Continuous)
|
เป็นการเสริมแรงทุกครั้งที่
แสดงพฤติกรรม |
ทุกครั้งที่เปิดโทรทัศน์แล้วเห็นภาพ
|
การเสริมแรงความช่วงเวลาที่แน่นอน (Fixed
- Interval)
|
ให้การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่กำหนด
|
ทุก ๆ สัปดาห์ผู้สอนจะทำการทดสอบ
|
การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่
ไม่แน่นอน(Variable - Interval) |
ให้การเสริมแรงตามระยะเวลาที่ไม่แน่นอน
|
ผู้สอนสุ่มทดสอบตามช่วงเวลาที่ต้องการ
|
การเสริมแรงตามจำนวนครั้ง
ของการตอบสนองที่แน่นอน (Fixed - Ratio) |
ให้การเสริมแรงโดยดูจาก
จำนวนครั้งของการตอบสนอง ที่ถูกต้องด้วยอัตราที่แน่นอน |
การจ่ายค่าแรงตามจำนวนครั้งที่ขายของได้
|
การเสริมแรงตามจำนวนครั้งของการตอบสนองที่ไม่แน่นอน
(Variable
- Ratio)
|
ให้การเสริมแรงตามจำนวนครั้งของการตอบสนองแบบไม่แน่นอน
|
การได้รับรางวัลจากเครื่องเล่นสล๊อตมาชีน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น